เมนู

อนึ่ง ปฏิปทาเหล่านี้จะพึงแจ่มแจ้วก็ด้วยข้ออุปมาเปรียบด้วยคนหาโค.
โค 4 ตัวของชายคนหนึ่งหนีเข้าไปในดง. เขาหาโคเหล่านั้นในป่าซึ่งมีหนาม
หนาทึบ ทางที่ไปก็ไปด้วยความยากลำบาก โคซ่อนอยู่ในที่อันหนาทึบเช่นนั้น
ก็เห็นด้วยความยากลำบาก. ชายคนหนึ่งไปด้วยความลำบาก โคยืนอยู่ในที่แจ้ง
ก็เห็นได้ฉับพลันทันที. อีกคนหนึ่งไปทางโล่งไม่หนาทึบ โคซ่อนอยู่เสียในที่
หนาทึบก็เห็นด้วยความยากลำบาก. อีกคนหนึ่งไปสะดวกตามทางโล่ง โคยืนอยู่
ในที่โล่งก็เห็นได้ฉับพลัน. ในข้ออุปมานั้น อริยมรรค 4 พึงเห็นดุจโค 4 ตัว
พระโยคาวจรดุจชายหาโค การปฏิบัติลำบากในเบื้องต้นของภิกษุผู้ลำบากในญาณ
5 ดุจไปทางหนาทึบด้วยความยากลำบาก การเห็นอริยมรรคในเบื้องปลาย
ของผู้เหนื่อยหน่ายในญาณ 9 ดุจการเห็นโคที่ซ่อนอยู่ในที่หนาทึบด้วยความยาก.
พึงประกอบแม้ข้ออุปมาที่เหลือโดยอุบายนี้.
จบอรรถกถาวิตถารสูตรที่ 2

3. อสุภสูตร


ว่าด้วยปฏิปทา 4


[163] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 นี้ ฯลฯ คือ
ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้าเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นความไม่งาม ในร่างกาย มีความสำคัญความปฏิกูล ในอาหาร
มีความสำคัญไม่น่าเพลิดเพลินยินดี ในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ในสังขารทั้งปวง อนึ่ง ตั้งมรณสัญญา (กำหนดความตาย) ไว้อย่างดีในภายใน
ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ (ธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ) 5 ประการนี้ คือ
สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ อินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ
สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะอินทรีย์ 5 นี้อ่อน เธอย่อมบรรลุ
อนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า.
ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็วเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นความไม่งาม ในร่างกาย มีความสำคัญความปฏิกูล ในอาหาร
มีความสำคัญ ความไม่น่าเพลิดเพลินยินดี ในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง อนึ่ง ตั้งมรณสัญญา (กำหนดความตาย) ไว้อย่างดี
ในภายใน ภิกษุอันอาศัยเสขพละ 5 ประการ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ
วิริยะ ปัญญา อยู่ อินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ของเธอแก่กล้าเพราะอินทรีย์ 5 นี้แก่กล้า เธอย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อ
ความสิ้นอาสวะได้เร็ว นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว.
ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้าเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌาน ฯลฯ ได้ทุติยฌาน
ฯลฯ ได้ตติยฌาน ฯลฯ ได้จตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ 5
ประการคือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา นี้อยู่ แต่อินทรีย์ 5 คือ
สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะอินทรีย์ 5 นี้อ่อน
เธอย่อมบรรลุอนันตริยคุณ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า นี้เรียกว่า ปฏิบัติ
สะดวก แต่รู้ได้ช้า.

ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็วเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌาน ฯลฯ ได้ทุติยฌาน
ฯลฯ ได้ตติยฌาน ฯลฯ ได้จตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ 5
ประการ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา นี้อยู่ ทั้งอินทรีย์ 5
คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธอก็แก่กล้า เพราะอินทรีย์ 5
นี้แก่กล้า เธอย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว นี้เรียกว่า
ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว.
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทา 4.
จบอสุภสูตรที่ 3

อรรถกถาอสุภสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอสุภสูตร 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็น
ในกรชกายของตนว่าไม่งาม ด้วยการเข้าไปเปรียบเทียบกับอสุภะ 10 ที่ตน
เห็นแล้วในภายนอกโดยนัยนี้ว่า นั่นฉันใด นี้ก็ฉันนั้น อธิบายว่า เห็นกาย
ของตนด้วยญาณ โดยเป็นสิ่งไม่งาม โดยเป็นสิ่งปฏิกูล. บทว่า อาหาเร
ปฏิกฺกุลสญฺญี
ความว่า มีความสำคัญในกวฬีการาหาร ว่าเป็นปฏิกูลด้วย
อำนาจปฏิกูล 9. บทว่า สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญี ความว่า ประกอบ
ด้วยความไม่น่ายินดี คือด้วยสัญญาว่าน่าเอือมระอา ในโลกสันนิวาสอันเป็น
ไตรธาตุ แม้ทั้งหมด. บทว่า สพฺพสํขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี ความว่า
พิจารณาเห็นสังขารอันเป็นไปในภูมิ 3 แม้ทั้งหมด โดยความเป็นของไม่เที่ยง.